5 สาเหตุที่ต้องปรับโครงสร้างหนี้
เมื่อโครงการเดินไปไม่ถึงจุดที่จะทำกำไร และคืนเงินกู้ให้กับสถาบันการเงินได้ ทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ต้องเจรจาร่วมกัน โดยเจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินอาจจะต้องปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ใหม่ เพื่อแก้ปัญหากับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยเจ้าหนี้เองก็ยังคงต้องได้รับการชำระหนี้อย่างเหมาะสม และทางฝั่งของลูกหนี้จะสามารถชำระหนี้ได้ตามกำลังความสามารถที่เป็นเป็นได้มากที่สุด
สาเหตุที่ต้องปรับโครงสร้างหนี้
1.หนี้ที่โครงการต่าง ๆ ได้กู้ยืมเงินไป แต่ขาดสภาพคล่องในการดำเนินกิจการไม่สามารถนำเงินมาชำระคืนธนาคารได้ตามกำหนดเป็นระยะเวลานาน ธนาคารจึงต้องเข้าไปแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในส่วนนี้
2.การปรับโครงสร้างหนี้เป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่ง ในด้านของลูกหนี้ก็จะมีเงินทุนในการสานต่อโครงการให้จบ จนกระทั่งดำเนินกิจการให้มีรายได้ และนำเงินมาชำระหนี้ต่อไป ทางฝั่งของธนาคารก็จะมีหนี้สูญในระบบลดลง
3.การที่โครงการต้องสิ้นสุดลงเพราะขาดเงินทุนนั้น ปัญหาต่อมาก็คือการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกันตามกฎหมายซึ่งแน่นอนว่าทุกฝ่ายไม่ต้องการให้เกิดขึ้น อย่างไรแล้วทางศาลเองก่อนที่รับเรื่องฟ้องร้องก็ต้องมีจดหมายแจ้งทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้มาไกล่เกลี่ยกันก่อน หากสามารถตกลงกันได้ ปัญหาการฟ้องร้องก็จะลดลงไปหรือการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีการฟ้องร้อง และศาลได้รับแผนการฟื้นฟูกิจการไว้แล้วนั้น เจ้าหนี้จะฟ้องร้องกิจการไม่ได้ในระยะเวลา 5 ปี
4.ปัญหาการขาดเงินทุน หรือขาดสภาพคล่องทางการเงินของโครงการ ย่อมบานปลายไปถึงการจ้างงานด้วย ดังนั้นแรงงานของโครงการจะต้องตกงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา สถาบันการเงินย่อมต้องคำนึงถึงส่วนนี้
5.โครงการต่าง ๆ ย่อมมีคู่ค้าในการทำธุรกิจ จะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง ดังนั้นเงินทุนที่ขาดไปย่อมจะกระทบคู่ค้า ปัญหาความน่าเชื่อถือต่าง ๆ ปัญหาการให้เครดิตซึ่งกันและกันระหว่างการค้าก็จะเกิดขึ้น ดังนั้นสถาบันการเงินจึงต้องยื่นมือเข้าไปพยุงในส่วนนี้ไว้ สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้โครงการสานต่อธุรกิจหรือเพิ่มสภาพคล่องต่อไป
หากโครงการต้องการปรับโครงสร้างหนี้ แต่มีเจ้าหนี้มากกว่า 1 ราย ก็ควรเลือกสถาบันการเงินเพียง 1 แห่งเท่านั้นเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ เพราะว่าการปรับโครงสร้างนี้ต้องมีการเขียนแผนงานขึ้นมา ซึ่งต้องใช้บุคคลากรผู้ชำนาญงานในส่วนต่าง ๆ เข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ ผู้บริหารแผนงาน และที่ปรึกษาทางการเงิน เพราะส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ต้องมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นด้วย ซึ่งจะทำให้ลูกหนี้ประหยัดลงไปได้
อย่างไรก็ตามการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต้องอยู่ภายใต้พระราชกำหนดบรรษัทบริหารทรัพย์สินไทย (บสท.)
ให้คุณจักกฤช เป็นที่ปรึกษาของท่าน
สอบถามเพิ่มเติม
แอดไลน์มาได้ที่ line jkcrownfinancial
line id: jkcrownfinancial
mobile 091-991-1552
E-mail : jakkrit.ruji@gmail.com
กลับไปที่หน้า บทความจาก jkcrown
กลับไป www.jkcrownfinancial.com
กดลิงค์ keyword ด่านล่าง เพื่อ เข้าสู่ backlink รายละเอียดบริการที่คุณมองหา
แหล่งเงินทุน# เงินทุน # เงินกู้# กู้เงิน# เงินกู้นอกระบบ# เงินกู้เจ้าของกิจการ# เงินกู้เจ้าของธุรกิจ# เงินกู้ผู้ประกอบการ#เงินด่วน# เงินหมุน#
เงินกู้รายวัน# เงินกู้รายเดือน# เงินกู้พนักงาน# สินเชื่อเงินสด#
สินเชื่อส่วนบุคคล# ยื่นสินเชื่อ# รูดบัตรเครดิต#เดินบัญชีย้อนหลัง#
ทำสเตทเม้น statementย้อนหลัง# ทำทะเบียนพาณิชย์ย้อนหลัง# เงินโชว์บัญชี#
เงินนอนบัญชี# ขอวีซ่า #แลกเช็ค# จำนำรถ# จำนำมอเตอร์ไซด์# ดาว์นรถแลกเงิน# จำนำรถติดไฟแนนท์# รถแลกเงิน #